“ผมจะหาประเด็นของในข้อพระคัมภีร์ได้อย่างไร”
นี่เป็นคำถามที่ผมได้ยินอยู่บ่อยๆ จากกลุ่มศึกษาพระคัมภีร์ของผู้นำและผู้นำนักศึกษาในคริสตจักรที่ผมรับใช้อยู่ และไม่มีอะไรที่จะทำให้ผมมีความสุขมากไปกว่าการได้บอกพวกเขา (และคุณ) ว่าผมมีสูตรพิเศษที่จะพาเขาเดินทางจากข้อพระคัมภีร์ของพวกเขาไปสู่ประเด็นของพระธรรมข้อนั้น หรือที่ดีกว่านั้นก็คือการประยุกต์ใช้พระธรรมข้อนั้น
ผมไม่มีสูตรพิเศษอันนั้นหรอก แต่ผมคิดว่ามีหลายอย่างที่คุณจะสามารถลองค้นหาในพระคัมภีร์ข้อนั้นของคุณได้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่บทไหนในพระคัมภีร์สิ่งนี้จะช่วยให้คุณพบกับประเด็นของมันได้
1. โครงสร้างและการเน้น
ประการแรก ให้พิจารณาโครงสร้างและการเน้นของพระธรรมข้อนั้น ผมชอบที่จะเริ่มต้นด้วยโครงสร้างหรือวิธีที่พระธรรมของผมแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ของข้อต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน
แน่นอนว่าวิธีที่เราจะค้นพบโครงสร้างนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของข้อพระคัมภีร์ด้วย ถ้าหากผมกำลังดูประเภทเรื่องเล่าอยู่ โครงเรื่องและตัวละครก็ช่วยได้มาก ผมจะมองหาสภาพแวดล้อม จุดสูงสุด และข้อยุติ ถ้าหากผมกำลังดูประเภทคำปราศรัยหรือจดหมายอยู่ ผมจะมองหากระแสความคิดที่มีประเด็นเชิงเหตุผล ถ้าผมกำลังดูประเภทกวีนิพนธ์อยู่ ผมจะพยายามแยกแยะบทกลอนต่างๆ และเริ่มสรุปบทกวีเหล่านั้น
ไม่ว่าผมจะอยู่หมวดหมู่ไหนในพระคัมภีร์ ผมจะมองหาคำและความคิดที่ถูกกล่าวซ้ำๆ อยู่เสมอ ขอย้ำว่าอยู่เสมอ การแปลความหมายแบบตรงตามตัวจะช่วยคุณในจุดนี้ คำถามเพื่อการวิเคราะห์ที่ผมชอบใช้ ณ ที่นี้คือ : “ผู้เขียนจัดระเบียบพระธรรมตอนนี้อย่างไร?” และเมื่อผมได้เริ่มร่างโครงร่างขึ้นมาแล้ว ผมก็ถามตัวเองอะไรคือการเน้นที่ถูกเปิดเผยในโครงร่างนี้
2. บริบท
ประการที่สอง ให้พิจารณาบริบท ไม่มีพระคัมภีร์ตอนไหนที่เกิดขึ้นตอนเดียวโดดๆ แต่พระธรรมทุกตอนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการโต้เถียง เรื่องราว หรือการรวบรวมพระคัมภีร์ข้อต่างๆ ที่ถูกกำหนดโดยผู้เขียน
สิ่งที่อยู่ก่อนพระธรรมตอนของผมและสิ่งที่ตามมาทีหลังนั้นสำคัญ และสิ่งนี้จะช่วยให้ผมเข้าใจว่ามีอะไรอยู่ในพระธรรมของผม มันอาจช่วยให้เข้าใจหัวข้อที่ผู้เขียนกำลังพูดถึง มันอาจช่วยให้ผมมองเห็นหมวดหมู่ที่ใหญ่ขึ้นในหนังสือของผม มันอาจช่วยแก้ไขบางอย่างที่ผมอ่านแบบผิดๆ ในพระธรรมของผม มันอาจแม้แต่ช่วยให้ผมเข้าใจสถานการณ์ในทางประวัติศาสตร์ของผู้ฟังกลุ่มแรกก็ได้
บริบทคือกุญแจสำคัญ และคำถามเพื่อการวิเคราะห์ของผมคือ : “ทำไมผู้เขียนต้องวางข้อความนี้ไว้ตรงนี้ ณ จุดนี้ในหนังสือเล่มนี้ด้วย?”
3. ธีมหนังสือ
จากสิ่งที่ผมเพิ่งพูดถึงเกี่ยวกับบริบท มันจึงสมเหตุสมผลที่จะซูมออกมาดูภาพรวมทั้งหมดและถามคำถามเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น อะไรคือเป้าหมายของผู้เขียนสำหรับหนังสือเล่มนี้?
แน่นอนว่าต้องใช้ความพยายามอย่างมากกว่าที่จะเข้าใจธีมของหนังสือทั้งเล่ม อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่านี่คือขั้นตอนสำคัญที่ะถามว่า “พระธรรมตอนนี้ของผม (และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเน้นที่ผมค้นพบในโครงสร้างนั้น) เกี่ยวข้องอย่างไรกับธีมที่ใหญ่กว่าของหนังสือทั้งเล่ม?”
4. การสะท้อนในเชิงศาสนศาสตร์
ใน ลูกา 24:13-49 พระเยซูทรงสอนว่าพระธรรมทุกตอนชี้ไปที่ความมรณาและการเป็นขึ้นจากตายของพระองค์ และผลของพระกิตติคุณเล่มนี้ก็คือการกลับใจและการอภัยจากบาป โดยปราศจากความเข้าใจนี้ เราก็จะเสี่ยงต่อการตีความพระธรรมตอนนี้เพียงแค่ในทางศีลธรรมเท่านั้นหรือตีความโดยแยกจากข่าวประเสริฐไม่โดยวิธีใดก็วิธีหนึ่ง
ดังนั้น สำคัญมากที่จะใช้ทุกอุปกรณ์ของศาสนศานตร์ที่มี (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง biblical theology) เพื่อถามว่า “พระธรรมตอนนี้ของฉันเกี่ยวข้องกับข่าวประเสริฐอย่างไร?” แน่นอนว่ามีอีกหลายๆ วิธีที่จะทำสิ่งนี้อย่างไม่ดีด้วย ดังนั้นมันสำคัญมากที่เราจะเชื่อมโยงระหว่างพระคัมภีร์ข้อของเรากับข่าวประเสริฐอย่างถูกต้อง
5. ปะติดปะต่อทุกอย่างเข้าด้วยกัน
เมื่อคุณได้ทำในส่วนของโครงร่าง บริบท ธีมหนังสือ และศาสนศาสตร์แล้ว มันก็ถึงเวลาที่จะเริ่มปะติดปะต่อทุกอย่างเข้าด้วยกัน ไม่ว่าคุณจะเรียกสิ่งนี้ว่าประเด็นหลัก ธีมของพระคัมภีร์ หรือความคิดใหญ่ๆ มันก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำขั้นตอนสุดท้ายนี้ให้สำเร็จ คำถามที่ผมชอบถามตัวเองคือ : “อะไรคือสิ่งที่ผู้เขียนพยายามจะสอนผู้ฟังกลุ่มแรกของเขา?” เขากำลังพูดอะไร? อะไรคือประเด็นหลักของเขา?
อย่าทำเป็นเล่นๆ เพราะนี่ไม่ใช่กระบวนการเขียนรายงาน สำหรับผม นี่จะใช้เวลาหนึ่งถึงสองชั่วโมงสำหรับกลุ่มย่อยสำหรับศึกษาพระคัมภีร์และคงจะประมาณ 12 ชั่วโมงในการเตรียมตัวสำหรับคำเทศนา! ไม่ว่าคุณจะมีเวลาเท่าไหร่ผมก็คิดว่ามีช่วยได้มากหากจะทำด้วยวิธีนี้
แน่นอนว่าเมื่อคุณสามารถแยกได้ว่าอะไรคือแนวคิดหลักคุณก็ยังต้องคิดให้ได้ว่าอะไรคือการประยุกต์ กระนั้น เมื่อพูดถึงการทำความเข้าใจในส่วนของพระคัมภีร์ ผมก็เริ่มแบบนี้ :
ผู้เขียนจัดระเบียบพระธรรมตอนนี้อย่างไร?
- ทำไมผู้เขียนต้องวางข้อความนี้ไว้ตรงนี้ ณ จุดนี้ในหนังสือเล่มนี้ด้วย?
- ทำไมผู้เขียนต้องวางข้อความนี้ไว้ตรงนี้ ณ จุดนี้ในหนังสือเล่มนี้ด้วย?
- พระธรรมตอนนี้ของผมเกี่ยวข้องอย่างไรกับธีมที่ใหญ่กว่าของหนังสือทั้งเล่ม?
- พระธรรมตอนนี้ของฉันเกี่ยวข้องกับข่าวประเสริฐอย่างไร?
- อะไรคือสิ่งที่ผู้เขียนพยายามจะสอนผู้ฟังกลุ่มแรกของเขา?
ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการนี้เพิ่มเติมได้ที่หนังสือของ เดวิด เฮล์ม Expositional Preaching: How We Speak God’s Word Today (Crossway, forthcoming April 2014)
โดย โรเบิร์ต คินเนย์